เศรษฐีกระเป๋าหนักไม่จริง เลี่ยงภาษี “ซูเปอร์คาร์“ ซื้อรถเขมร-ลาวขับขี่ในไทยเกร่อ
เศรษฐีกระเป๋าหนักไม่จริง ทำเท่ขับซูเปอร์คาร์เลี่ยงเสียภาษีต่ำ ซื้อและจดทะเบียนในเขมร-ลาว แต่ขอนำรถมาใช้ในไทย กรมศุลฯรับมีจริง ชี้เป็นช่องทางลักลอบ สั่งตรวจหวั่นสูญรายได้มหาศาล
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการรถนำเข้าเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์รถซูเปอร์คาร์ หรือรถหรูป้ายทะเบียนประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาวิ่งเพ่นพ่านในเมืองไทยเยอะมากขึ้น ไม่เฉพาะแต่เขตพื้นที่ชายแดนเท่านั้น ใน กทม.ก็มีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ และมีเกือบทุกยี่ห้อ แต่ที่เยอะเป็นพิเศษจะเป็นแบรนด์ปอร์เช่ และลัมโบร์กินี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจริง ๆ ขับรถท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ แต่อีกกลุ่มหนึ่งเป็นคนไทยมีที่พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า กลุ่มหลังนี้ชอบทำตัวเป็นเศรษฐี ขับรถหรูหราราคาแพง หรือซูเปอร์คาร์ ราคาหลายสิบล้าน แต่กระเป๋าไม่หนักจริง ใช้วิธีเลี่ยงเสียภาษีต่ำ โดยสั่งซื้อรถผ่านเอเย่นต์ หรือผู้ค้ารถอิสระในเขตประเทศลาว เขมร และมาเลเซีย จดทะเบียนในประเทศเหล่านี้ก่อน ซึ่งเสียภาษีศุลกากรต่ำกว่าประเทศไทยมาก แล้วค่อยดำเนินการขออนุญาตเอาเข้ามาใช้งานในประเทศไทย ซึ่งระยะหลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับประเทศในกลุ่มดังกล่าวนี้กำลังจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งนักธุรกิจคนไทยมีการเข้าไปลงทุนในหลายพื้นที่ ทำให้ง่ายต่อการซื้อขาย
"ส่วนใหญ่จะมาจากเขมรเพราะเสียภาษีต่ำมาก ต่างจากบ้านเราที่เสียเต็มพิกัด 328% ส่วนการเอามาใช้งานบ้านเรา ก็ขออนุญาตเป็นครั้งคราวไป ซึ่งได้ระยะเวลาหลายเดือน"
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" สอบถามเรื่องนี้กับทางกลุ่มเกรย์มาร์เก็ตในประเทศไทย เกือบทุกรายให้คำตอบไปในทิศทางเดียวกันว่า ปรากฏการณ์นี้มีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเศรษฐีในพื้นที่จังหวัดชายแดนให้ความสนใจซื้อรถจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาใช้จริง เพราะราคาขายต่ำกว่าบ้านเรามาก ตัวอย่าง เช่น ปอร์เช่ คาเยนน์ ไฮบริด ขายในประเทศไทยจะต้องเสียภาษีต่ำสุด 116% ทำให้ราคาขายขยับขึ้นไป 6-8 ล้านบาทแล้วแต่ออปชั่น แต่ถ้าซื้อในเขมรจะเหลือแค่ครึ่งเดียว ทำให้ได้รับความนิยมมาก
"ข้อเสียของรถกลุ่มนี้คือพวงมาลัยซ้าย ใช้งานบ้านเราอาจลำบากหน่อยโดยเฉพาะถนน 2 เลนวิ่งสวนทางแซงค่อนข้างยากกับเวลาจ่ายเงินทางด่วน เพราะตู้เก็บเงินอยู่ด้านขวา แต่เดี๋ยวนี้มีอีซี่พาสก็ง่ายขึ้น ซึ่งถ้าเป็นเศรษฐีตัวจริงจะไม่นิยมเท่าไหร่ เพราะดูแล้วไม่คุ้มค่าและเสียเวลาในการนำรถเข้า-ออกเพื่อต่อทะเบียน"
ขณะที่ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ปอร์เช่กล่าวว่า แบรนด์ที่ตนดูแลอยู่นั้นยังไม่พบว่ามีกลุ่มคนไทยไปซื้อจากต่างประเทศ จดทะเบียนประเทศเพื่อนบ้าน แล้วนำกลับเข้ามาใช้ในบ้านเรา แต่จะพบในกลุ่มลูกค้าผู้ซื้อรถสำหรับการใช้งานในประเทศนั้นจริง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักธุรกิจที่ต้องเดินทางเข้ามาติดต่อในประเทศไทย แล้วขับรถของตัวเองมารับบริการหลังการขายจากศูนย์บริการอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ซึ่งตรงนี้มีสัดส่วนอยู่ราว ๆ 10 คัน ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
สำหรับประเด็นการเลี่ยงภาษี ผู้บริหารระดับสูงจากกรมศุลกากรยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีผู้ที่พยายามใช้ช่องว่างทางกฎหมายที่ประเทศไทยอนุญาตให้ประเทศเพื่อนบ้านสามารถขออนุญาตนำรถมาวิ่งในเมืองไทยได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยอาจมีบางรายหัวใสนำเข้ารถและจดทะเบียนที่ประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะกัมพูชา หรือ สปป.ลาว แล้วขออนุญาตนำเข้ามาวิ่งในเมืองไทย ทำให้ไม่ต้องเสียอากรขาเข้าจำนวนมาก
"เขาสามารถทำได้ เพียงแต่การนำรถมาวิ่งต้องอยู่ในกำหนดเวลา เช่น อนุญาตให้คราวละไม่เกิน 6 เดือน และขยายได้อีก 1 ครั้ง เป็นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ต้องดูว่ารถดังกล่าวจดทะเบียนเป็นชื่อใคร ถ้าเจ้าของเป็นคนไทยก็ต้องดูว่าพอเอาเข้ามาแล้ว ครบกำหนดแล้วยังอยู่ต่อก็ต้องจับกุม เพราะถือว่าเป็นการเลี่ยงภาษีที่ทำให้ประเทศเสียหาย" แหล่งข่าวกล่าว
การอาศัยช่องว่างลักษณะนี้ไม่ได้เพิ่งมี แต่มีมาตลอดหลายสมัย และมีการจับกุมได้เรื่อย ๆ ซึ่งหากจะแก้ปัญหาก็ต้องแก้ไขในกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากรให้มีการอุดช่องว่างการอนุญาตดังกล่าว
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ/ ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
......................................
ที่มา:http://auto.sanook.com/12665/
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการรถนำเข้าเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์รถซูเปอร์คาร์ หรือรถหรูป้ายทะเบียนประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาวิ่งเพ่นพ่านในเมืองไทยเยอะมากขึ้น ไม่เฉพาะแต่เขตพื้นที่ชายแดนเท่านั้น ใน กทม.ก็มีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ และมีเกือบทุกยี่ห้อ แต่ที่เยอะเป็นพิเศษจะเป็นแบรนด์ปอร์เช่ และลัมโบร์กินี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจริง ๆ ขับรถท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ แต่อีกกลุ่มหนึ่งเป็นคนไทยมีที่พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า กลุ่มหลังนี้ชอบทำตัวเป็นเศรษฐี ขับรถหรูหราราคาแพง หรือซูเปอร์คาร์ ราคาหลายสิบล้าน แต่กระเป๋าไม่หนักจริง ใช้วิธีเลี่ยงเสียภาษีต่ำ โดยสั่งซื้อรถผ่านเอเย่นต์ หรือผู้ค้ารถอิสระในเขตประเทศลาว เขมร และมาเลเซีย จดทะเบียนในประเทศเหล่านี้ก่อน ซึ่งเสียภาษีศุลกากรต่ำกว่าประเทศไทยมาก แล้วค่อยดำเนินการขออนุญาตเอาเข้ามาใช้งานในประเทศไทย ซึ่งระยะหลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับประเทศในกลุ่มดังกล่าวนี้กำลังจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งนักธุรกิจคนไทยมีการเข้าไปลงทุนในหลายพื้นที่ ทำให้ง่ายต่อการซื้อขาย
"ส่วนใหญ่จะมาจากเขมรเพราะเสียภาษีต่ำมาก ต่างจากบ้านเราที่เสียเต็มพิกัด 328% ส่วนการเอามาใช้งานบ้านเรา ก็ขออนุญาตเป็นครั้งคราวไป ซึ่งได้ระยะเวลาหลายเดือน"
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" สอบถามเรื่องนี้กับทางกลุ่มเกรย์มาร์เก็ตในประเทศไทย เกือบทุกรายให้คำตอบไปในทิศทางเดียวกันว่า ปรากฏการณ์นี้มีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเศรษฐีในพื้นที่จังหวัดชายแดนให้ความสนใจซื้อรถจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาใช้จริง เพราะราคาขายต่ำกว่าบ้านเรามาก ตัวอย่าง เช่น ปอร์เช่ คาเยนน์ ไฮบริด ขายในประเทศไทยจะต้องเสียภาษีต่ำสุด 116% ทำให้ราคาขายขยับขึ้นไป 6-8 ล้านบาทแล้วแต่ออปชั่น แต่ถ้าซื้อในเขมรจะเหลือแค่ครึ่งเดียว ทำให้ได้รับความนิยมมาก
"ข้อเสียของรถกลุ่มนี้คือพวงมาลัยซ้าย ใช้งานบ้านเราอาจลำบากหน่อยโดยเฉพาะถนน 2 เลนวิ่งสวนทางแซงค่อนข้างยากกับเวลาจ่ายเงินทางด่วน เพราะตู้เก็บเงินอยู่ด้านขวา แต่เดี๋ยวนี้มีอีซี่พาสก็ง่ายขึ้น ซึ่งถ้าเป็นเศรษฐีตัวจริงจะไม่นิยมเท่าไหร่ เพราะดูแล้วไม่คุ้มค่าและเสียเวลาในการนำรถเข้า-ออกเพื่อต่อทะเบียน"
ขณะที่ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ปอร์เช่กล่าวว่า แบรนด์ที่ตนดูแลอยู่นั้นยังไม่พบว่ามีกลุ่มคนไทยไปซื้อจากต่างประเทศ จดทะเบียนประเทศเพื่อนบ้าน แล้วนำกลับเข้ามาใช้ในบ้านเรา แต่จะพบในกลุ่มลูกค้าผู้ซื้อรถสำหรับการใช้งานในประเทศนั้นจริง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักธุรกิจที่ต้องเดินทางเข้ามาติดต่อในประเทศไทย แล้วขับรถของตัวเองมารับบริการหลังการขายจากศูนย์บริการอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ซึ่งตรงนี้มีสัดส่วนอยู่ราว ๆ 10 คัน ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
สำหรับประเด็นการเลี่ยงภาษี ผู้บริหารระดับสูงจากกรมศุลกากรยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีผู้ที่พยายามใช้ช่องว่างทางกฎหมายที่ประเทศไทยอนุญาตให้ประเทศเพื่อนบ้านสามารถขออนุญาตนำรถมาวิ่งในเมืองไทยได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยอาจมีบางรายหัวใสนำเข้ารถและจดทะเบียนที่ประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะกัมพูชา หรือ สปป.ลาว แล้วขออนุญาตนำเข้ามาวิ่งในเมืองไทย ทำให้ไม่ต้องเสียอากรขาเข้าจำนวนมาก
"เขาสามารถทำได้ เพียงแต่การนำรถมาวิ่งต้องอยู่ในกำหนดเวลา เช่น อนุญาตให้คราวละไม่เกิน 6 เดือน และขยายได้อีก 1 ครั้ง เป็นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ต้องดูว่ารถดังกล่าวจดทะเบียนเป็นชื่อใคร ถ้าเจ้าของเป็นคนไทยก็ต้องดูว่าพอเอาเข้ามาแล้ว ครบกำหนดแล้วยังอยู่ต่อก็ต้องจับกุม เพราะถือว่าเป็นการเลี่ยงภาษีที่ทำให้ประเทศเสียหาย" แหล่งข่าวกล่าว
การอาศัยช่องว่างลักษณะนี้ไม่ได้เพิ่งมี แต่มีมาตลอดหลายสมัย และมีการจับกุมได้เรื่อย ๆ ซึ่งหากจะแก้ปัญหาก็ต้องแก้ไขในกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากรให้มีการอุดช่องว่างการอนุญาตดังกล่าว
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ/ ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
......................................
ที่มา:http://auto.sanook.com/12665/
เศรษฐีกระเป๋าหนักไม่จริง เลี่ยงภาษี “ซูเปอร์คาร์“ ซื้อรถเขมร-ลาวขับขี่ในไทยเกร่อ
Reviewed by Unknown
on
05:21
Rating:
Post a Comment