ปรองดองบังคับให้เกิดไม่ได้ ต้องสร้างจากวัฒนธรรม
นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com
ประเด็นร้อนทางการเมืองในบ้านเรายังคงจับตากันในเรื่องของ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กรรมาธิการร่างฯได้จัดทำร่างแล้วเสร็จเป็นร่างแรก และเพิ่งผ่านการอภิปรายความเห็นจาก สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช.ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน
จนถึงวันนี้ต้องบอกว่ากระแสจากนักการเมืองทุกกลุ่ม ต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วยกับร่างฯและต้องการให้มีการแก้ไขกันในหลายประเด็น และในการประชุมเพื่อสร้างความปรองดอง ท่าทีของบรรดานักการเมืองถึงกับผลิกกลับตละปัดจากเดิมเลยก็ว่าได้
จากที่เคยแสดงความเห็นว่าต้องการให้ มีการจัดทำรัฐธรรมนูญโดยเร็ว เพื่อเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งให้ได้ในปีนี้ กลับเห็นพ้องต้องกันว่า ไม่รีบร้อนสำหรับการเลือกตั้ง สามารถรอได้อีก 2-3 ปีก็รอได้ แต่ขอให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กรรมาธิการร่างจัดทำออกมา ให้เป็นที่พอใจและยอมรับกันได้ทุกฝ่ายเสียก่อน
และประเด็นหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็น ในเรื่องที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะยิ่งสร้างความขัดแย้งในสังคม จะทำให้การปรองดองไม่มีทางเกิดขึ้นได้ รวมถึงมีข้อเสนอให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ปรับปรุง ตามคำเสนอแนะของภาคส่วนต่างๆ ไปทำประชามติด้วย
แต่ทั้งนี้ท่าทีจากหัวหน้า คสช.เองก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะให้มีการทำประชาพิจารณ์หรือไม่ โยนประเด็นกลับมาที่ประธานกรรมาธิการร่าง รธน. แทน
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือในเรื่องของ การมองว่ารัฐธรรมนูญ จะเป็นปัจจัยหลักสำหรับการสร้างความปรองดองของคนในชาติได้...?
แน่นอนว่า กฎหมายหลักหรือกฎหมายแม่อย่างรัฐธรรมนูญ หากมีการออกแบบมาเพื่อสร้างความเสมอภาค ความยุติธรรม และเสรีภาพของคนในสังคม และสามารถนำไปใช้ได้จริง สังคมย่อมมีความสงบสุข
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรามีหลักประกันอย่างไร ในเรื่องเหล่านี้ นักการเมืองประชาชน มีความตระหนักมีความสำนึกในหลักการเหล่านี้อย่างไร ที่ผ่านมา หลักทั้งสามถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ แต่ในความเป็นจริง เราจะเห็นบรรดานักการเมือง ก็หาช่องทางที่จะละเมิดหลักการเหล่านี้เสียทุกครั้งไป พยายามตีความต่างๆ เพื่อเอาประโยชน์เข้าตัวเองและพวกพ้องเสียทุกที จนเป็นปัญหาเรื้อรังมาจนทุกวันนี้
เราเห็นนักการเมืองเมื่อมีอำนาจรัฐขึ้นมา ก็ไม่เคยเห็นหัวประชาชนอยู่เป็นเนื่องนิจ อาศัยข้ออ้างต่างๆ นานา ลดอำนาจประชาชน ใช้อำนาจตัวเองตัดสินใจแทนทุกครั้งไป และบางครั้งถึงกลับใช้อำนาจรัฐทำร้ายประชาชนที่เห็นต่างอยู่ร่ำไป
ที่ผ่านมาการเมืองไทยพยายามสร้างวัฒนธรรมการเจรจา เพื่อหาทางออกของปัญหาต่างๆ แต่แล้ว ด้วยหลักที่ยึดอยู่แต่ผลประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวทำให้ วัฒนธรรมการเจรจา หรือ การพูดคุยเพื่อหาทางออกไม่เคยได้ผล
จะมีก็เพียงรูปแบบที่ทำให้เห็นว่ามีการเจรจาแล้ว แต่เป็นการเจรจาที่ไม่ยอมรับเหตุผล หรือ ข้อมูลของฝ่ายที่เห็นต่างเลย เราจะทำอย่างไรให้วัฒนธรรมการพูดคุยเป็นจริงขึ้นมาได้ ภายใต้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สามารถทำให้เป็นจริงได้หรือไม่...?
ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวของประเทศเพื่อนบ้านที่ผ่านความขัดแย้งของคนในประเทศมาอย่างรุนแรงยาวนาน อย่างกัมพูชาว่าทั้งผู้นำและฝ่ายค้านของประเทศ กำลังเดินหน้าในการสร้างความปรองดองของประเทศเพื่อความผาสุกของประชาชน โดยจะสร้างวัฒนธรรมของการเจรจาในการหาทางออกของปัญหาขึ้นมา ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง
ซึ่งการเดินหน้าตามแนวทางดังกล่าวจะเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหนก็ยังต้องติดตามดูกันต่อไป แต่สำหรับสังคมไทย จะเดินหน้าไปสู่ความปรองดองได้อย่างไร....? การสร้างเวทีปรองดองล่าสุดที่ทางฝ่าย คสช.จัดขึ้น โดยนำผู้นำของพรรคการเมืองใหญ่คนละขั้ว และผู้นำพรรคการเมือง ผู้นำกลุ่มการเมือง มาพูดคุยกันไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น แน่นอนว่าในเชิงรูปแบบไม่มีปัญหาใดๆ
แต่ในข้อเท็จจริง การสร้างวัฒนธรรมการเจรจา เพื่อให้เกิดขึ้นในเชิงเนื้อหา เป็นจิตสำนึกเป็นวิถีของทางออกของสังคมในอนาคตข้างหน้า เป็นเรื่องท้าทาย
และน่าติดตามยิ่งว่าการสร้างวัฒนธรรมการเจรจาของกัมพูชาและประเทศไทย จะเดินหน้าหรือก้าวหน้าอย่างไร เป็นเรื่องน่าติดตามยิ่ง
โดย...เปลวไฟน้อย
...........................................
ที่มา http://news.sanook.com/1788166/
ประเด็นร้อนทางการเมืองในบ้านเรายังคงจับตากันในเรื่องของ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กรรมาธิการร่างฯได้จัดทำร่างแล้วเสร็จเป็นร่างแรก และเพิ่งผ่านการอภิปรายความเห็นจาก สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช.ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน
จนถึงวันนี้ต้องบอกว่ากระแสจากนักการเมืองทุกกลุ่ม ต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วยกับร่างฯและต้องการให้มีการแก้ไขกันในหลายประเด็น และในการประชุมเพื่อสร้างความปรองดอง ท่าทีของบรรดานักการเมืองถึงกับผลิกกลับตละปัดจากเดิมเลยก็ว่าได้
จากที่เคยแสดงความเห็นว่าต้องการให้ มีการจัดทำรัฐธรรมนูญโดยเร็ว เพื่อเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งให้ได้ในปีนี้ กลับเห็นพ้องต้องกันว่า ไม่รีบร้อนสำหรับการเลือกตั้ง สามารถรอได้อีก 2-3 ปีก็รอได้ แต่ขอให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กรรมาธิการร่างจัดทำออกมา ให้เป็นที่พอใจและยอมรับกันได้ทุกฝ่ายเสียก่อน
และประเด็นหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็น ในเรื่องที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะยิ่งสร้างความขัดแย้งในสังคม จะทำให้การปรองดองไม่มีทางเกิดขึ้นได้ รวมถึงมีข้อเสนอให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ปรับปรุง ตามคำเสนอแนะของภาคส่วนต่างๆ ไปทำประชามติด้วย
แต่ทั้งนี้ท่าทีจากหัวหน้า คสช.เองก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะให้มีการทำประชาพิจารณ์หรือไม่ โยนประเด็นกลับมาที่ประธานกรรมาธิการร่าง รธน. แทน
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือในเรื่องของ การมองว่ารัฐธรรมนูญ จะเป็นปัจจัยหลักสำหรับการสร้างความปรองดองของคนในชาติได้...?
แน่นอนว่า กฎหมายหลักหรือกฎหมายแม่อย่างรัฐธรรมนูญ หากมีการออกแบบมาเพื่อสร้างความเสมอภาค ความยุติธรรม และเสรีภาพของคนในสังคม และสามารถนำไปใช้ได้จริง สังคมย่อมมีความสงบสุข
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรามีหลักประกันอย่างไร ในเรื่องเหล่านี้ นักการเมืองประชาชน มีความตระหนักมีความสำนึกในหลักการเหล่านี้อย่างไร ที่ผ่านมา หลักทั้งสามถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ แต่ในความเป็นจริง เราจะเห็นบรรดานักการเมือง ก็หาช่องทางที่จะละเมิดหลักการเหล่านี้เสียทุกครั้งไป พยายามตีความต่างๆ เพื่อเอาประโยชน์เข้าตัวเองและพวกพ้องเสียทุกที จนเป็นปัญหาเรื้อรังมาจนทุกวันนี้
เราเห็นนักการเมืองเมื่อมีอำนาจรัฐขึ้นมา ก็ไม่เคยเห็นหัวประชาชนอยู่เป็นเนื่องนิจ อาศัยข้ออ้างต่างๆ นานา ลดอำนาจประชาชน ใช้อำนาจตัวเองตัดสินใจแทนทุกครั้งไป และบางครั้งถึงกลับใช้อำนาจรัฐทำร้ายประชาชนที่เห็นต่างอยู่ร่ำไป
ที่ผ่านมาการเมืองไทยพยายามสร้างวัฒนธรรมการเจรจา เพื่อหาทางออกของปัญหาต่างๆ แต่แล้ว ด้วยหลักที่ยึดอยู่แต่ผลประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวทำให้ วัฒนธรรมการเจรจา หรือ การพูดคุยเพื่อหาทางออกไม่เคยได้ผล
จะมีก็เพียงรูปแบบที่ทำให้เห็นว่ามีการเจรจาแล้ว แต่เป็นการเจรจาที่ไม่ยอมรับเหตุผล หรือ ข้อมูลของฝ่ายที่เห็นต่างเลย เราจะทำอย่างไรให้วัฒนธรรมการพูดคุยเป็นจริงขึ้นมาได้ ภายใต้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สามารถทำให้เป็นจริงได้หรือไม่...?
ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวของประเทศเพื่อนบ้านที่ผ่านความขัดแย้งของคนในประเทศมาอย่างรุนแรงยาวนาน อย่างกัมพูชาว่าทั้งผู้นำและฝ่ายค้านของประเทศ กำลังเดินหน้าในการสร้างความปรองดองของประเทศเพื่อความผาสุกของประชาชน โดยจะสร้างวัฒนธรรมของการเจรจาในการหาทางออกของปัญหาขึ้นมา ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง
ซึ่งการเดินหน้าตามแนวทางดังกล่าวจะเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหนก็ยังต้องติดตามดูกันต่อไป แต่สำหรับสังคมไทย จะเดินหน้าไปสู่ความปรองดองได้อย่างไร....? การสร้างเวทีปรองดองล่าสุดที่ทางฝ่าย คสช.จัดขึ้น โดยนำผู้นำของพรรคการเมืองใหญ่คนละขั้ว และผู้นำพรรคการเมือง ผู้นำกลุ่มการเมือง มาพูดคุยกันไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น แน่นอนว่าในเชิงรูปแบบไม่มีปัญหาใดๆ
แต่ในข้อเท็จจริง การสร้างวัฒนธรรมการเจรจา เพื่อให้เกิดขึ้นในเชิงเนื้อหา เป็นจิตสำนึกเป็นวิถีของทางออกของสังคมในอนาคตข้างหน้า เป็นเรื่องท้าทาย
และน่าติดตามยิ่งว่าการสร้างวัฒนธรรมการเจรจาของกัมพูชาและประเทศไทย จะเดินหน้าหรือก้าวหน้าอย่างไร เป็นเรื่องน่าติดตามยิ่ง
โดย...เปลวไฟน้อย
...........................................
ที่มา http://news.sanook.com/1788166/
ปรองดองบังคับให้เกิดไม่ได้ ต้องสร้างจากวัฒนธรรม
Reviewed by Unknown
on
09:39
Rating:
Post a Comment