พิจิตรนี้มีดีอะไร



   บึงสีไฟ

จังหวัดพิจิตร จังหวัดริมแม่น้ำน่านทางตอนล่างของภาคเหนือ เป็นจังหวัดที่อาณาเขตติดกับจังหวัด

นครสวรรค์ และพิษณุโลก ตัวเมืองมีแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยมไหลผ่าน พิจิตร นั้นถือเป็นเมืองเก่าแก่ที่ย้อน

อดีตไปได้ถึงสมัยสุโขทัย และนับเป็นเมืองที่ประสูติของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือสมเด็จพระ

พุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่สิ่งที่ทำให้จังหวัดพิจิตรนั้นเป็นที่รู้จักในวงกว้างนั้นคือ

นิทานพื้นบ้านเรื่องไกรทอง ที่มีฉากหลังเป็นจังหวัดพิจิตรนั่นเอง

พิจิตร นี้ มีดีอะไร ?

 © สนับสนุนโดย Monotech พิจิตร

นอกจากนิทานเรื่องไกรทองแล้ว หลายคนอาจคิดว่าพิจิตรนั้นเป็นเพียงเมืองเกษตรกรรมเงียบๆ ที่หลาย

คนใช้เป็นทางผ่านสู่ภาคเหนือ แต่หากมองให้ดีแล้ว พิจิตรเองก็นับเป็นจังหวัดน่าเที่ยวจังหวัดหนึ่งเลยที

เดียว เพราะแค่ชื่อเมืองว่าพิจิตรนั้น ก็แปลออกได้ว่า เมืองงามแล้ว แต่จะงามอย่างไร ลองตามมาดูกัน

เริ่มต้นกันด้วยความงามที่


 © สนับสนุนโดย Monotech วัดโพธิ์ประทับช้าง

วัดโพธิ์ประทับช้าง นับเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ ที่โดดเด่นด้วยต้นไม้ใหญ่ด้าน

หน้าวัด อันได้แก่ ต้นโพธิ์ประทับช้าง และต้นมะเดื่อ ว่ากันว่าบริเวณระหว่างต้นไม้ใหญ่ 2 ต้นนี้คือที่

ประสูติของพระพุทธเจ้าเสือนั่นเอง ส่วนภายในวัดนั้น ยังคงรักษาความงดงามของรอยกำแพงวัดเก่า


 © สนับสนุนโดย Monotech วัดท่าหลวง

อุโบสถหลังงามที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต พระพุทธรูปอายุกว่า 300 ปี ที่นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

ประจำจังหวัดวัดท่าหลวง ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านทางฝั่งตะวันตก ก็นับเป็นอีกวัดงามคู่เมืองพิจิตรเพราะ

ภายในพระอุโบสถนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่สร้างขึ้นในสมัยเชียงแสน ชาวบ้านทั่ว

ไปนิยมเรียกกันว่า หลวงพ่อเพชร ซึ่งองค์พระนั้นหล่อด้วยทองสำริด มีพุทธลักษณะที่งดงามมากเป็นที่

เคารพสักการะของชาวพิจิตร และชาวเมืองใกล้เคียงและเมื่อได้ชื่อว่าเป็นเมืองชาละวัน สถานที่ท่อง

เที่ยวที่เกี่ยวข้องกับชาละวันจึงเป็นสิ่งห้ามพลาดของจังหวัดพิจิตร เริ่มกันด้วย


 © สนับสนุนโดย Monotech อุทยานเมืองเก่าพิจิตร

อุทยานเมืองเก่าพิจิตร ที่มีลักษณะเป็นเมืองโบราณบนเนื้อที่กว่า 400 ไร่ ที่เชื่อกันว่าเป็นตัวเมืองพิจิตร

เก่า โดยภายในประกอบด้วย กำแพงเมือง คูเมือง เจดีย์เก่า สวนรุกขชาติที่มีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่น 

และถ้ำชาลวัน ว่ากันว่าบริเวณนี้ในอดีตเป็นที่อยู่อาศัยของพญาชาลวัน โดยบริเวณปากถ้ำนั้นมีตัวละคร

สำคัญในวรรณคดีเรื่องไกรทองให้แวะชมมากมายอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความเกี่ยวข้องกับนิทาน

ชาละวัน และนับเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดคือ


 © สนับสนุนโดย Monotech บึงสีไฟ

บึงสีไฟ แหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศ และนับเป็นสวนสาธารณะของจังหวัด โดด

เด่นด้วยรูปปั้นพญาชาละวันขนาดใหญ่ที่ภายในออกแบบให้ใช้เป็นห้องประชุมได้และท้ายที่สุด 

หากอยากรู้จักเมืองพิจิตรจะมีอะไรดีไปกว่าการเดินชมตลาดเพื่อดูวิถีชีวิตชาวเมืองที่


 © สนับสนุนโดย Monotech ตลาดเก่าวังกรด

ตลาดเก่าวังกรด หรือชื่อเดิมว่า บ้านวังกลม ตลาดเก่าริมแม่น้ำน่านที่เกิดจากการเป็นชุมทางของการ

เดินรถไฟสายเหนือ และกลายมาเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญในปัจจุบัน โดยตลาดแห่งนี้นั้นนอก

จากความคึกคักของร้านค้าแล้ว ยังโดดเด่นด้วยบ้านไม้สองชั้นเรียงรายไปตามถนนเส้นเล็กๆ ที่ยังคงวิถี

ชีวิต และธุรกิจดั้งเดิม มีบ้านหลังสำคัญคือ บ้านหลวงประเทืองคดี ผู้ริเริ่มและให้การสนับสนุนการสร้าง

ตลาด โดยบ้านหลังนี้นับเป็นบ้านทรงตึกหลังแรกของตลาดเลยก็ว่าได้ นอกจากนั้นบ้านเก่าบางหลังยัง

จัดเป็นพิพิภัณฑ์แสดงของใช้โบราณ และมีศูนย์รวมใจของชาวบ้านอย่าง ศาลเจ้าพ่อวังกรม ที่ตั้งอยู่ริม

แม่น้ำน่านเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวภายในตลาด

อีกหนึ่งความภูมิใจของชาวพิจิตรที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศคือ ประเพณีแข่งเรือยาว เพราะ

จังหวัดพิจิตรนั้นเป็นทางผ่านของแม่น้ำสายสำคัญถึง 2 สาย อันได้แก่แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน โดย

ประเพณีแข่งเรือยาวที่สำคัญของจังหวัดพิจิตรได้แก่ การแข่งเรือยาวของวัดท่าหลวงที่เริ่มแข่งกันมา

นานกว่าร้อยปี และการแข่งเรือที่วัดโพธิ์ประทับช้าง ที่จับเอาทีมระดับแชมป์มาแข่งขันกันจะเห็นได้ว่า 

ถึงแม้พิจิตรจะมีชือเสียงเป็นที่รู้จักจากนิทานพื้นบ้านเรื่องชาละวัน แต่หากลองได้มาแวะเวียนเที่ยวชม 

จะเห็นได้ว่าพิจิตรนั้นงดงามไปด้วยศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่ผูกโยงเข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบันได้อย่าง

น่าชม

เรียบเรียงโดย : Travel MThaiขอบคุณรูปภาพจาก : bloggang.com, thailovetrip.com, 

thongthailand.com, hotelsguidethailand.com, nanasara-siri.blogspot.com, oknation.net

..................................................
ที่มา: http://www.msn.com/th-th/travel/

พิจิตรนี้มีดีอะไร พิจิตรนี้มีดีอะไร Reviewed by Unknown on 04:37 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น